นวัตกรรม เรื่องสัตว์ชนิดต่าง ๆ
บทนำ
บทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตรอบตัว
สัตว์ชนิดต่าง ๆ เด็กควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัวโดยเฉพาะสัตว์ประเภทประเภทต่าง
ๆ เช่น
สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงมีหลายชนิด ทั้งสัตว์น้ำ
เช่นปลา สัตว์บก เช่น สุนัข แมว สัตว์ปีกเช่น นก ไก่ สัตว์แต่ละชนิดมีรูปร่าง
ลักษณะ และขนาดแตกต่างกัน ย่อมมีธรรมชาติความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
เด็กต้องรู้วิธีป้องกันอันตรายและความปลอดภัยจากสัตว์เลี้ยงมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์และเรียนรู้ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงกลุ่มสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัว สำหรับอนุลาล3 มีทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่เรื่องที่1. สิ่งที่เด็กรู้แล้วเรื่องที่ 2. สิ่งที่เด็กอยากรู้ เรื่องที่3. การอนุรักษ์สัตว์ป่า
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณคุณครูวสันต์ แปงจิตต์ ที่ได้ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดทำบทเรียน เรื่องสิ่งมีชีวิตรอบตัว เกี่ยวกับสัตว์ชนิดต่าง สำหรับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล ในครั้งนี้ พร้อมด้วยทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและให้คำแนะนำในการตรวจสอบเนื้อหา ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ หน่วยสัตว์ชนิดต่าง ๆจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน การสอนของครู ให้ผู้เรียนได้รู้และรู้จักสังเกตุสิ่งรอบตัวด้วยตนเองและเป็นผู้เรียนที่พึ่งตนเองได้
ผู้จัดทำ
นางสาวขนิษฐา อุ่นถิ่น
นางสาวขนิษฐา อุ่นถิ่น
คำชี้แจงบทเรียน
บทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตรอบตัว
หน่วยสัตว์ชนิดต่าง ๆ สำหรับอนุบาล เด็กควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัวโดยเฉพาะสัตว์ประเภทประเภทต่าง
ๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัว สำหรับอนุบาลมีทั้งหมด 2
เรื่อง ได้แก่
1. สิ่งที่เด็กรู้แล้ว
เกี่ยวกับสัตว์
1.1 เลี้ยงไว้เป็นอาหาร
1.2 เลี้ยงไว้ใช้งาน
1.3 เลี้ยงไว้ดูเล่น
2. สิ่งที่เด็กอยากรู้ เกี่ยวกับสัตว์
2.1 ทำไมปลาจึงว่ายน้ำได้
2.2 ทำไมช้างจึงตัวใหญ่
3.การอนุรักษ์สัตว์ป่า
ผู้เรียนจะสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมีกระบวนการดังนี้
1. ตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองไปก่อน แม้ตอบผิดไปบ้างก็ไม่เป็นไร เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้ว
จะสามารถตอบคำถาม ได้ถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย
2. ศึกษาเนื้อหา
โดยบทเรียนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อย ๆ
เป็นกรอบต่อเนื่องกันไป
3.
เมื่อศึกษาจบทุกเรื่องแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจทางการเรียนของตนเอง
โดยบทเรียนนี้จะประกอบด้วย
1.
แบบทดสอบก่อนเรียน แบบปรนัย จำนวน 10ข้อ
2.
เนื้อหาที่ต้องศึกษา
3.
วิดีโอช่วยสอน
5. แบบทดสอบหลังเรียน แบบปรนัย จำนวน 10
ข้อ
เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
ระดับ 4 ดีมาก
ระดับ 3 ดี
ระดับ 2 พอใช้
ระดับ 1 ปรับปรุง
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.
เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสัตว์แต่ละประเภท
สามารถนำไปปรับใช้ใน ชีวิตประจำวันได้
2.
เพื่อให้เด็กปฏิบัติตามสัญญาณ และคำสั่งได้
3.
เพื่อให้เด็กสามารถสร้างผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
4.
เพื่อให้เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่สนทนาได้
5.
เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวในการเล่นและเล่นร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสนุกสนาน
6.
เพื่อให้เด็กสามารถนำภาพที่เหมือนกันมาจัดเข้าคู่กันได้
7.
เพื่อให้เด็กแสดงความรักและมีเมตตาต่อสัตว์อย่างเหมาะสม
8.
เพื่อให้เด็กสามารถบอกลักษณะสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันจากการสังเกตได้
9.
เพื่อให้สามารถจำแนกและจัดกลุ่มสัตว์เลี้ยงได้
10.
เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆรอบตัว
11.
เพื่อให้เด็กเกิดพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้าน สติปัญญา
สาระสำคัญ
สัตว์แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน
การหากิน และแหล่งที่อยู่อาศัยก็แตกต่างกัน การศึกษา และทำความเข้าใจลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ จะช่วยให้ดูแลสัตว์เหล่านั้นได้ดี สิ่งมีชีวิตรอบหน่วยสัตว์ชนิดต่าง
ๆ
เด็กควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัวโดยเฉพาะสัตว์ประเภทประเภทต่าง
ๆ เช่น สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงมีหลายชนิด ทั้งสัตว์น้ำ
เช่นปลา สัตว์บก เช่น สุนัข แมว สัตว์ปีกเช่น นก ไก่ สัตว์แต่ละชนิดมีรูปร่าง ลักษณะ
และขนาดแตกต่างกัน ย่อมมีธรรมชาติความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
เด็กต้องรู้วิธีป้องกันอันตรายและความปลอดภัยจากสัตว์เลี้ยง
มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์และเรียนรู้ประโยชน์ ของสัตว์เลี้ยง
กลุ่มสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรอบตัว สำหรับอนุบาล3 ได้แก่ สิ่งที่เด็กรู้แล้ว
สิ่งที่เด็กอยากรู้ การอนุรักษ์สัตว์ป่า
แบบทดสอบก่อนเรียน
วันที่1 สิ่งที่เด็กรู้แล้ว เกี่ยวกับสัตว์ หน่วยสัตว์ชนิดต่าง ๆ
เนื้อหาบทเรียน:
1.สิ่งที่เด็กรู้แล้ว เกี่ยวกับสัตว์
1.1 เลี้ยงไว้เป็นอาหาร
ตัวอย่างของสัตว์เลี้ยงประเภทที่ใช่เป็นอาหาร
เป็ด
เป็ด
เป็นสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae
(วงศ์นกเป็ดน้ำ) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ
ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา
พืชน้ำและสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดมัลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม
เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า
เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง
การเลี้ยงเป็ดมี
2 ประเภท
คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม
การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์
อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง
หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์
หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐานะ
สุกรหรือหมู
สุกรหรือหมู เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ
ไก่
ไก่
(อังกฤษ: Chicken)
จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus
gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว
ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา ไก่โฟม
จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว
ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา ไก่โฟม
วัว โค
วัว
โค
เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด
เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล
Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos
primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ
เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง
ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว
10,500 ปีก่อน มีการประเมินว่า ปัจจุบันมีวัว 1,300 ล้านตัวทั่วโลก[3] เมื่อ พ.ศ.
2552 วัวเป็นปศุสัตว์ชนิดแรกที่มีการทำแผนที่จีโนมอย่างสมบูรณ์
สัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน
วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ
เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง
ในบางประเทศ เช่น อินเดีย
ควายหรือกระบือ
ควาย
(อังกฤษ: water
buffalo) หรือภาษาทางการว่า กระบือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับงานเกษตรกรรมของประเทศทางเอเชียมากที่สุดเพราะชาวนานิยมเลี้ยงควายเป็นแรงงานเพื่อไว้ไถนาบ้างก็ใช้ควายเป็นพาหนะเข้าไปทำไร่ทำนาบ้างก็ฆ่าควายกินเนื้อเป็นอาหาร ควายจึงมีประโยชน์หลายประการ
ม้า
ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ
เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลายโดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม
มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก
และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์
ช้าง
ช้างเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาในวัฒนธรรมเอเชียและมีกิตติศัพท์ว่ามีความจำและความฉลาดที่ดี โดยระดับสติปัญญาของมันนั้นคาดกันว่าจะเท่ากับของโลมาหรือไพรเมตเลยทีเดียว ช้างเป็น "สัตว์ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงทั้งในด้านไหวพริบและจิตใจ
1.3 เลี้ยงไว้ดูเล่น
สัตว์ที่เลี้ยงไว้ดูเล่น
ปลาทอง เป็นปลาสวยงามอันดับต้น ๆ
ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง เพราะสวยงามและดูมีชีวิตชีวา แถมชื่อยังเป็นมงคลอีกด้วย
นักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น จึงเลือกเลี้ยงเจ้าปลาชนิดนี้ไว้ดูเล่นกันเป็นจำนวนมาก
นกแก้ว ชื่ออังกฤษ=parrot แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ
ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ
เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป
นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จะงอย
สุนัข ควรมีที่อยู่ที่นอนเป็นที่เป็นทางแลเป็นสัดเป็นส่วน
อาจจะใช้ผ้าเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายๆชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสมส่วนการจะเลี้ยงดูสุนัขไว้ในบ้านหรือไม่นั้นคงแล้วแต่ความพร้อมของสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่แล้วหากมันยังเล็กอยู่ก็นิยมเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อคอยดูแล
แมว
หรือ แมวบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felicia ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงดตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ
4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว
ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ
สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันทาง
กิจกรรมสร้างสรรค์
1.วาดภาพระบายสี
2.ปั้นดินน้ำมัน
3.เล่านิทาน
สื่อประกอบการสอน
1.กระดาษA4
2.บัตรภาพรูปสัตว์
3.สี
4.ดินสอ
5.ดินน้ำมัน
กิจกรรมสร้างสรรค์
1.วาดภาพระบายสี
2.ปั้นดินน้ำมัน
3.เล่านิทาน
สื่อประกอบการสอน
1.กระดาษA4
2.บัตรภาพรูปสัตว์
3.สี
4.ดินสอ
5.ดินน้ำมัน
กิจกรรมสร้างสรรค์
1.วาดภาพระบายสี
2.ปั้นดินน้ำมัน
3.เล่านิทาน
สื่อประกอบการสอน
1.กระดาษA4
2.บัตรภาพรูปสัตว์
3.สี
4.ดินสอ
5.ดินน้ำมัน
วันที่2 สิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ เกี่ยวกับสัตว์ หน่วยสัตว์ชนิต่าง ๆ
สาระเรียนรู้
เนื้อหาบทเรียน:
2.สิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ เกี่ยวกับสัตว์
2.1 ทำไมปลาจึงว่ายน้ำได้
หน้าที่และการทำงานของครีบแต่ละชนิดของปลา
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาหน้าที่และการทำงานของครีบปลาแต่ละชนิดไว้
และสามารถอธิบายได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้
ครีบปลาเป็นรยางค์สำหรับช่วยในการเคลื่อนที่
ลอยตัวหยุดนิ่งหรือหยุดการเคลื่อนที่
ครีบปลาที่จะได้รู้จักโดยทั่วไป ก็มีครีบหลัง ครีบหาง ครีบก้น ครีบอก และครีบเอว
หรือ สำหรับปลาไม่มีเกล็ด จะมีติ่งเนื้อด้านหลังครีบหลัง
เราเรียกว่า ครีบไขมัน
ครีบหลังและครีบก้นจะช่วยไม่ให้ตัวปลาเกิดการควงสว่านในขณะที่ว่ายน้ำไปข้างหน้า
ส่วนครีบหางก็จะเป็นครีบหลักที่ช่วยทำให้ปลาว่ายน้ำเคลื่อนที่ไปด้านหน้า
ส่วนครีบคู่อื่น ๆ จะช่วยในการลอยตัวอยู่กับที่ ลอยตัวขึ้นด้านบนผิวน้ำ
หรือหยุดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า
กิจกรรมสร้างสรรค์
-การวาดภาพและระบายสีอิสระ
-ฉีกตัดปะ
https://youtu.be/ELj9nJHc5jQ วิดีโอประกอบบทเรียน เรื่อง การฉีก ตัด ปะกระดาษ
อุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1.แนะนำเพลงสัตว์เลี้ยง โดยร้องให้เด็กฟัง 1รอบ (เพลงช้าง)
ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง
น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า
ช้างมันตัวโตไม่เบา
จมูกยาวยาวเรียกว่างวง
มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา
มีหู มีตา หางยาว (ร้อง2รอบ)
https://youtu.be/kMwodsPwrSQ เพลงช้าง
2. เด็กร้องตามทีละบทอีกหนึ่งรอบ
3. เด็กร้องเพลงพร้อมครู
4. ให้เด็กทำท่าประกอบเพลงสัตว์เลี้ยง อย่างอิสระ
5. เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดในท่านั้น แล้วพูดชื่อสัตว์คนละ 1ชื่อ
6.ทำเช่นนี้อีก 4 - 5 ครั้ง
-สื่อประกอบการสอน
1.เครื่องเคาะจังหวะ
2.เพลงช้าง https://youtu.be/kMwodsPwrSQ
-กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์เกี่ยวกับสัตว์
1. วาดภาพ ระบายสี สัตว์ที่ตนเองชอบ ด้วยสีเทียน
2. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นแบบพิมพ์ พิมพ์ทีละนิ้ว
3. ใช้ปลายนิ้วแตะสีเบาๆ น ามาพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 ตามความคิดตนเอง
4. ปั้นดินน้ำมัน ปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ
5. ทำเสร็จนำเสนอผลงานที่สำเร็จ
-สื่อประกอบการสอน
1. สีน้ำ
2. สีเทียน
3. กระดาษ
4. จานสี
5. แก้วน้ำ
6.ดินน้ำมัน
7.บัตรรูปภาพสัตว์
สาระเรียนรู้
เนื้อหาบทเรียน:
3.การอนุรักษ์สัตว์ป่า
3.1 สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิด ได้แก่
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรดชวากระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ กวางผาจีน นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียนไทย แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูน หรือหมูน้ำ วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง ฉลามวาฬ
บัตรภาพสัตว์ป่าสงวน
กิจกรรมสร้างสรรค์
-วาดภาพระบายสีสัตว์ต่าง
-ปั้นดินน้ำมัน
-เล่านิทาน
-ร้องเพลง
-สื่อประกอบการสอน
1.เครื่องเคาะจังหวะ
2.บัตรภาพสัตว์
3.นิทานเกี่ยวกับสัตว์
แบบทดสอบหลังเรียน
ชื่อ-สกุล…………………………………………….ระดับชั้น………………………………………
สรุป
บทเรียน หน่วยสัตว์น่ารัก สำหรับอนุบาลนี้สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการแบ่งปัน มีความรับผิดชอบร่วมกันในหมู่คณะสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
แบบฟอร์มการประเมินครูผู้สอน
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขอเสนอแนะอื่น ๆ
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูป ชั้นอนุบาล 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สัตว์ชนิดต่างๆ
จัดทำโดย
นางสาวขนิษฐา อุ่นถิ่น
นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ห้อง 1
รหัสนักศึกษา 61181860136 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย( ค.บ.5ปี )
เสนอ
อาจารย์ วสันต์ แปงจิตต์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชา 1032701 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
https://kanitthalpru.blogspot.com/2019/09/blog-post.html ลิงก์blogger
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น